OSHA
คืออะไร
อาจมีน้อยคนที่อาจรู้จักคำนี้
OSHA คำนี้ได้มาจากพระราชบัญญัติที่บอกถึงความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของไทย OSHA คือ
คณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพ (Occupational
Safety and Health Administration – OSHA) ของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นคณะที่ทำงานในสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ
(The American National Standard Institute) โดยก่อตั้งมาจากคณะกรรมการมาตรฐานวิศวกรรมอเมริกา
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมมาตรฐานอเมริกา (America National Standard
Institute) ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2461) การจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาทำให้เรามีคำนึงถึงความสำคัญของความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมจึงได้มีการจัดตั้งสมาคมที่ป้องกันอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า
(The Industrial Accident Prevention Association – IAPA) โดยเกิดจากความร่วมมือจากบุคคลที่ทำงานในหลากหลายอาชีพร่วมเป็นสมาชิก
เพื่อร่วมกันศึกษาหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิด พร้อมทั้งการเสนอแนะวิธีการป้องกันอีกทั้งยังจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมการป้องกันอุบัติเหตุ
โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโทรอนโท (Toronto) ในประเทศแคนาดา
ความปลอดภัยในการใช้บันได
ความปลอดภัยในการใช้ บันไดอลูมิเนียม 7 ขั้น เมื่อทำงานบนที่สูงหรือบริเวณรอบๆ
บันไดที่เป็นชนิดสร้างขึ้นติดกับโครงสร้างของอาคาร (Stairways)
และชนิดบันไดที่แยกออกมาเป็นตัว (Ladders) มีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายสูงพอๆกัน
จากการบันทึกข้อมูลในทางสถิติพบว่าบันไดก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนงานก่อสร้างได้
และส่งผลให้คนงานถึงขั้นหยุดงานได้ งานบริหารความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน (OSHA)
และกระทรวงแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกาได้ตั้งกฎความปลอดภัยในการใช้บันไดของ
OSHA ดังต่อไปนี้สำหรับงานก่อสร้าง ดัดแปลง ซ่อมแซม ตกแต่ง
ทางสี และรื้อทำลาย
ตามขอบข่ายการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยและสุขภาพในการก่อสร้างของสำนัก
ข้อกำหนดทั่วไปของบันได(Stairways)
1. ถ้าบริเวณที่ทำงานมีความสูงตั้งแต่ 48
ซ.ม. หรือ 19 นิ้วขึ้นไป โดยบริเวณพื้นที่ทำงานนั้นต้องไม่มีเนินทางลาด หรือขั้นในการขึ้นลง
นายจ้างต้องมีการจัดหาบันไดให้ลูกจ้างเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการขึ้นลงสำหรับพื้นที่ทั้งหมด
2. ถ้ามีเส้นทางเดียวเท่านั้นที่ใช้สำหรับขึ้นลงระหว่างพื้นระดับต่างๆ
นายจ้างต้องเคลียบริเวณเส้นทางนั้นให้โปร่งโล่งปราศนาจากสิ่งของที่กีดขวางทางเดินเนื่องจากเส้นทางนี้ต้องใช้เป็นทางผ่านของคนงาน
แต่หากเส้นทางที่ใช้สำหรับขึ้นลงลักษณะเดียวกันมีอีกหนึ่งอาจให้คนงานเลิกใช้เส้นทางนั้นแทน
3. ถ้าเส้นทางสำหรับใช้ขึ้นลงนี้มีระหว่างระดับต่างๆกัน
มากกว่า 2 เส้นทาง นายจ้างจะต้องแน่ใจว่าอย่างน้อย 1 เส้นทาง
มีสภาพโล่งและไร้สิ่งกีดขวาง
ข้อบังคับเพิ่มเติม ในบทบาทของนายจ้างจะต้องติดตั้งระบบการป้องกันการตก
(Fall Protection Systems) ไว้บริเวณบันไดทุกแห่งตามข้อกำหนด และในใจก่อนคนงานจะใช้บันไดทั้งหมดมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายบังคับ
บันไดชนิดแยกเฉพาะตัว(Ladders)
กฎต่อไปนี้ใช้กับ
Ladders ทั้งหมด
1. ห้ามไม่ให้บันไดรับน้ำหนักเกินอัตราสูงสุดที่รับได้
2. ใช้บันไดเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบ
3. บันไดต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี
และสิ่งจะทำให้ลื่นอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา
4. ต้องตั้งบนพื้นที่แข็งแรงและมั่นคง
ยกเว้นมีการผูก หรือมัด เพื่อไม่ให้เคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ
5. ห้ามตั้งบันไดบนพื้นเปียกลื่นยกเว้นใช้ที่รองขาบันไดอลูมิเนียมยืดหดได้ชนิดกันลื่น
เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ได้หมายความว่า
เมื่อใช้ที่รองขาป้องกันการลื่นแล้วจะละเลยความระมัดระวังเมื่อมีการตั้ง
หรือผูกมัดบันไดบนพื้นลื่น
6. ต้องผูกมัดบันไดให้มั่นคงหากตั้งอยู่บริเวณเป็นทางเดิน
ประตู เส้นทางยานพาหนะหรือบริเวณอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้บันไดเคลื่อนที่จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจนไปอยู่ตำแหน่งอันตราย
หรือใช้เครื่องกั้นระหว่างตัวบันไดกับคนหรือยานพาหนะเหล่านั้น
7. บริเวณส่วนบนและส่วนล่างของบันไดต้องสะอาดและไร้สิ่งกีดขวาง
8. ห้ามเคลื่อนย้าย หด หรือ
ยืดบันไดขณะมีการใช้งาน
9. ในกรณีบันไดอาจไปสัมผัสกระแสไปฟ้า
(สายหรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่) ขณะใช้งานห้ามใช้บันไดที่มีราวและไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
10. ต้องหันหน้าเข้าหาบันไดทุกครั้งขณะไต่ขึ้นลงบันได
11. ต้องใช้มือข้างหนึ่งจับบันไดไว้อย่างน้อยหนึ่งข้างขณะไต่ขึ้นและลง
12. ขณะอยู่บนบันได
ห้ามถือวัตถุหรือสัมภาระที่ทำให้เสียสมดุลจนอาจตกบันไดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น