กฎต่อไปนี้ใช้กับ
Ladders ทั้งหมด
-
บันไดต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี และสิ่งจะทำให้ลื่นอื่นๆ อยู่อย่างเด็ดขาด
-
ห้ามไม่ให้บันไดรับน้ำหนักเกินอัตราสูงสุดที่รับได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
ซึ่งผู้ผลิตหรือวิศวกรระบุไว้ข้างต้นในใบแนะนำสินค้าแล้ว
-
ใช้บันไดเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบ และควรเป็นบันได้ที่ได้มาตราฐานสมบูรณ์
-
ใช้บันไดเฉพาะที่ตั้งบนพื้นแข็งแรงและมั่นคง ยกเว้นมีการผูก หรือมัด
เพื่อไม่ให้เคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ
-
ห้ามใช้บันไดที่ตั้งบนพื้นเปียกลื่นยกเว้นใช้ที่รองขาบันไดชนิดกันลื่น
เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ได้หมายความว่า
เมื่อใช้ที่รองขาป้องกันการลื่นแล้วจะละเลยความระมัดระวังเมื่อมีการตั้ง
หรือผูกมัดบันไดบนพื้นลื่น ควรทำงานอย่างระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น
-
ต้องผูกมัดบันไดให้มั่นคงหากตั้งอยู่บริเวณเป็นทางเดิน ประตู
เส้นทางยานพาหนะหรือบริเวณอื่นๆ
อันอาจทำให้บันไดเคลื่อนที่จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจนไปอยู่ตำแหน่งอันตราย
หรือใช้เครื่องกั้นระหว่างตัวบันไดกับคนหรือยานพาหนะเหล่านั้น
-
ทำให้ส่วนบนและส่วนล่าของบันไดสะอาดและไร้สิ่งกีดขวาง ใดๆในขณะที่ใช้งานอยู่เสมอ
-
ห้ามเคลื่อนย้าย หด หรือ ยืดบันไดขณะมีการใช้งานอย่างเด็ดขาด
-
ใช้บันไดที่มีราวไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าในกรณีบันไดอาจไปสัมผัสกระแสไปฟ้า
(สายหรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่) ขณะใช้งาน
-
ควรหันหน้าเข้าหาบันไดขณะไต่ขึ้นหรือลง และขณะทำงาน
-
ใช้มือหนึ่งข้างจับบันไดไว้อย่างน้อยหนึ่งข้างขณะไต่ขึ้นและลง
-
ขณะอยู่บนบันได ห้ามถือวัตถุหรือสัมภาระที่ทำให้เสียสมดุลจนอาจตกบันไดได้
ข้อกำหนดเพิ่มเติมต่อไปนี้
ให้ใช้กับทุกบันได รวมถึงบันไดสร้างขึ้นมาเฉพาะงาน
-
นายจ้างต้องจัดหาบันไดชนิดสองทาง (Double-cleated ladders) หรือ
บันไดสองตัวหรือมากกว่ามาใช้ในกรณีบันไดหนึ่งตัวถูกใช้เฉพาะเป็นทางขึ้นหรือ ทางลง
(บันไดสำหรับใช้ขึ้นและสำหรับใช้ลงแยกกันคนละตัว) ในพื้นที่ทำงานซึ่งมีคนตั้งแต่
25 คนขึ้น หรือเมื่อบันไดตัวใดตัวหนึ่งถูกใช้สัญจรทั้งสองทางอย่างต่อเนื่อง
-
ส่วนประกอบของบันไดทั้งหมด ทั้งเสาบันไดหรือราวบันได ขั้นบันได
ที่เหยียบบนชั้นบันไดต้องอยู่ในตำแหน่งสมดุล
มีระเบียบและมั่นคงเมื่อบันไดอยู่บนที่ตั้งขณะใช้งาน (ตัวอย่าง เช่น
ขั้นบันไดขนานกันพื้น เสาบันไดทั้งสองข้างทำมุมเท่ากัน
และพาดเป็นเส้นตรงไม่เอียงไปทางซ้ายหรือทางขวา เป็นต้น)
-
บันไดชนิดยกเคลื่อนย้ายได้ (Portable
Ladders) และชนิดติดอยู่กับที่ (Fixed Ladders) ระยะ
ห่างระหว่างเสาบันไดสองด้านหรือระยะความกว้างของชั้นบันไดต้องไม่น้อยกว่า 25 ซ.ม.
(10 นิ้ว) แต่ไม่เกิดกว่า 36 ซ.ม. (14 นิ้ว) เท่ากันตลอดจนสุดทาง
-
ขั้นรองรับ (Step
Stool) สำหรับ ก้าวขึ้นไปหยิบของระยะไม่สูงมากนัก
(ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 3 ขั้น) ต้องมีความกว้างของชั้นเหยียบไม่น้อยกว่า 20 ซ.ม. (8
นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 31 ซ.ม. (12 นิ้ว) เท่ากับทุกขั้น
-
บันไดที่มีส่วนต่อขยายจากส่วนปลาย (Extension trestle ladders) ระยะ
ความกว้างของบันไดต้องไม่น้อยกว่า 20 ซ.ม. (8 นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 46 ซ.ม. (18
นิ้ว) เท่ากันทุกขั้นขณะที่บันไดส่วนขยาย
ระยะความกว้างของขั้นบันไดต้องไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. (6 นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 31
ซ.ม. (12 นิ้ว) เท่ากันทุกขั้น
-
ไม่ต้องมัดหรือผูกบันไดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความสูง
ยกเว้นออกแบบมาให้สามารถทำเช่นนั้นได้
-
เมื่อเลื่อนรางขยายบันไดให้สูงขึ้นไปเสาค้ำบันไดและขั้นบันไดของส่วนขยายนั้นต้องแข็งแรงเทียบเท่าตัวบันไดที่เป็นพื้นฐาน
-
เมื่อใช้บันไดสองตัวหรือมากกว่าตั้งขึ้นไปยังพื้นที่ทำงาน
จะต้องมีแท่นพื้นหรือลานอยู่ระหว่างบันได ห้ามใช้วิธีต่อบันไดรวดเดียวถึงที่หมาย
ยกเว้นจะใช้บันไดเคลื่อนย้ายได้พาดไปยังบันไดอยู่กับที่ (Fixed Ladders)
-
ส่วนประกอบของบันไดต้องมีผิวเรียบเพื่อป้องกันไม่ให้ไปเกี่ยวเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคนงานจะทำให้เกิดการบาดเจ็บจนเกิดบาดแผล
-
บันไดทำจากไม้ต้องไม่เคลือบหรือติดด้วยวัสดุทึบแสงใดๆ
ยกเว้นเพื่อจัดประสงค์ในการระบุบันไดและการเตือนอันตราย แต่ต้องทำที่เสาบันได
(ราวบันได) ด้านในด้านหนึ่งเท่านั้น
หมายเหตุ
ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาควรตรวจสอบความบกพร่องที่มองเห็นได้เป็นระยะ ทั้งก่อนทำงานหรือหลังจากทำงานเสร็จ
และควรดูแลรักษาให้สามาถใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
====================================================================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น