วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน 4



บันไดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เรียกว่า Portable Ladders
1.      ต้องมีการวัดระยะห่างระหว่างเสาที่ตั้งหรือราวบันไดทั้งสองข้างของบันได เราสามารถเคลื่อนย้ายบันได้ได้โดยการยก แต่ระยะห่างจะต้องไม่น้อยกว่า 29 เซนติเมตรหรือ 115 นิ้ว โดยเฉพาะบริเวณที่เหยียบเท้าบนขั้นบันไดต้องมีการเคลือบด้วยแผ่นหรือวัสดุกันลื่นซึ่งจะมีลักษณะเป็นปุ่มหรือร่อง เพื่อช่วยในการป้องกันเท้าลื่นไถลขณะใช้งานบันไดแต่ละครั้ง
2.      บันไดชนิดเคลื่อนย้ายได้มีทั้ง 2 ชนิดโดยจะมีดังต่อไปนี้ Non-self-supporting Ladders และ Self-supporting Ladders ที่สามารถรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 4 เท่าของน้ำหนักสูงสุดที่ผู้ผลิตระบุให้ใช้ได้ซึ่งบันไดเมื่อเราปีนขึ้นไปต้องไม่เกิดความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินใดทั้งแบบฉับพลันและในระยะยาว ในขณะที่บันไดที่สามารถยกหรือเคลื่อนย้ายได้ต้องทำด้วยโลหะหรือพลาสติกแบบไฟเบอร์กลาส ซึ่งชนิดนี้จะมีความแข็งแรงทนทานในขั้น IAหรือ IAA โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันไดต้องรับน้ำหนักได้อย่างน้อย 3.3 เท่าของน้ำหนักสูงสุดที่ผู้ผลิตระบุให้ใช้ได้กับบันได โดยในความหมายนี้จะหมายถึงการที่น้ำหนักของคนงานและสิ่งของติดตัวมาขณะขึ้นไปทำกิจกรรมบนขั้นบันไดเช่นการก้าวขึ้นลง การยืนทำงาน ฯลฯ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัวระบุขั้นหรือ Rating ของบันไดด้วย เช่นสัญญลักษณ์ IA จะกำหนดให้มีน้ำหนักสูงสุดบนบันไดได้ 300 ปอนด์ในขณะที่ สัญญลักษณ์ชั้น IAA ที่สูงกว่าจะมีการกำหนดน้ำหนักสูงสุดบนบันไดได้ ไว้ 375 ปอนด์และโดยทั่วไปควรบรรทุกน้ำหนักบนบันไดน้อยกว่าที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานแต่ละครั้ง เราต้องมีวิธีการทดสอบว่าบันไดที่ใช้งานแต่ละครั้งนั้นสามารถรับน้ำหนักสูงสุดได้เท่าใดโดยบันไดนั้นต้องมีสภาพปกติดีอยู่ การตั้งบันไดควรตั้งบันไดให้ทำมุมกับพื้น 75.5 องศา จากนั้นให้เอาน้ำหนักที่ต้องการจะทดสอบ (ตัวคนหรือสิ่งของหรือทั้งสองอย่าง) ขึ้นไปบนบันได วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจะใช้บันไดรับน้ำหนักตามที่ระบุไว้ใน Ratingทั้งแบบ IAและIAA หรือมากกว่าในช่วงเวลาสั้นๆเหล่านั้น
3.      เมื่อท่านต้องการใช้บันไดที่สามารถยกได้ ถ้าเราเคลื่อนย้ายจากทางขึ้นไปสู่พื้นที่ทำงานข้างบน บริเวณปลายสุดของบันไดโดยบันไดต้องพ้นขึ้นไปจากสุดสัมผัสโครงร่าง อย่างน้อย 90 ซ.ม. หรือ 3 ฟุต หากไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากพื้นที่ทำงานบนสุดนั้นอยู่ปลายบันไดพอดี จะต้องยึดบันไดไว้ให้มั่นคงโดยให้ใช้ลำตัวยึด หรือผูกมัดให้แน่นเพื่อไม่ให้ตัวบันไดที่เราปีนขึ้นไปนั้นเลื่อนออกจากจุดรองรับเดิมที่เราดันไว้


 ====================================================================

ติดตามบทความได้ที่ http://goo.gl/AucNKj

FanPage   https://www.facebook.com/multiladderth

สอบถามรายละเอียด บันไดอลูมิเนียม ราคา ถูก รุ่นต่างๆ เชิญได้ที่
http://www.multiladderth.com/

พูดคุยกับเรา Multi-X ได้ทาง

☎ Tel : 0941457091

Line : 0941457091




วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน 3



การกำหนดชนิดบันไดสำหรับใช้งาน
- ห้ามใช้บันไดชนิดราวเดี่ยว (Single rail Ladders) ตามข้อบังคับนี้ คำอธิบาย Single-rail Ladders มีลักษณะเหมือนก้างปลา มีเสาหรือราวเดียวตรงกึ่งกลางของซี่บันไดแต่ละซี่
- ให้ใช้บันไดที่ไม่ใช่ชนิดยึดด้วยตัวเอง (Non-self-supporting Ladders) วางพาดทำมุมใดมุมหนึ่งในบริเวณ ซึ่งระยะแนวราบจากจุดกึ่งกลางของแท่นยึด (จุดกึ่งกลางของบันได) ถึงฐานบันไดข้างใดข้างหนึ่งของ Self-supporting Ladders มีค่าประมาณ 1 ใน 4 ของระยะความยาวของตัวบันได ทั้งนี้ ในการใช้ Non-self-supporting Ladders ส่วน บนของบันใดจะต้องมีที่ยึดเสาบันไดเพื่อให้แน่นหนาและมั่นคง โดยต้องยึดไว้ทั้งสองเสา ยกเว้น เป็นชนิดออกแบบให้ยึดได้เพียงเสาเดียว 
คำอธิบาย คือบันไดที่มีสองด้านเชื่อมต่อด้วยแท่นยึดตรงกลาง เวลาจะใช้งานให้กางบันไดทั้งสองด้านออกในมุมเท่าๆ กัน เมื่อได้มุมพอดีหรือตามต้องการก็ล๊อคตัวบันไดทั้งสองด้านไว้บันไดกางออกไป เป็นมุมแคบจะได้ระยะความสูงสำหรับใช้งานบันไดมากขึ้น ขณะที่ความมั่นคงมีน้อย แต่หากกางบันไดออกกว้างเท่าไหร่ก็จะมีความมั่นคงมากขึ้น แต่ทว่าความสูงสำหรับการใช้งานบันไดจะต่ำลง ทั้งนี้ในบริเวณมีพื้นที่จำกัด หรือคับแคบจนกางบันไดได้เป็นมุมแคบ วัดระยะจากจุดกึ่งกลางบันได (จุดกึ่งกลางบันไดคือจุดที่ลากเน้นสมมุติจากกึ่งกลางแท่นยึดด้านบนลงมาที่ พื้น) ถึงฐานบันไดด้านใดด้านหนึ่งได้เพียงเล็กน้อย ของความยาวบันได ตัวอย่างเช่น ความยาวบันได 8 ฟุต เมื่อกางออกแล้วระยะรัศมีของของฐานบันไดมีเพียง 2 ฟุต แสดงถึงความหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงของตัวบันไดในขณะทำงาน กรณีนี้ OSHA แนะนำให้ใช้บันไดชนิดไม่ใช่ Self-supporting Ladders แทน เช่น บันไดเดี่ยว (Single-cleated Ladders) บันไดยืดความสูงได้ (Extension trestle Ladders) สำหรับพาดหรือผูกติดกับโครงสร้าง เป็นต้น
- ให้ใช้บันไดไม้สร้างขึ้นในพื้นที่ทำงาน (Wooden Job Built Ladders) ร่วมกับบันไดชนิดต่อราวเข้าด้วยกัน (Spliced Side Rails) ที่มุมใดมุมหนึ่งในบริเวณซึ่งระยะวัดจากฐานโครงสร้างที่ Spliced Side Rails พาดอยู่ไปถึงฐานบันไดมีค่า 1 ใน 8 เพื่อเป็นมาตรการเสริมความปลอดภัย
- ห้ามใช้แท่นด้านบนหรือบันไดขั้นบนสุดเป็นที่เหยียบเพื่อยืนทำงานหรือก้าวขึ้นไปยังจุดอื่น
- ห้ามเหยียบหรือปีนราวด้านหลังซึ่งใช้สำหรับยึดตัวบันได ยกเว้นจะออกแบบมาให้มีขั้นสำหรับเหยียบเหมือนด้านหน้า
- แท่งโลหะใช้สำหรับล๊อคบันได (Metal Spreader) ให้ยืดออกเต็มที่เพื่อด้านหน้าและด้านหลังของบันไดขยับออกมาจนสุด จากนั้นล๊อคให้อยู่ในตำแหน่งนั้นจนกว่าจะเลิกใช้งาน และควรล็อกให้แน่ใจทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน2



กฎต่อไปนี้ใช้กับ Ladders ทั้งหมด
- บันไดต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี และสิ่งจะทำให้ลื่นอื่นๆ อยู่อย่างเด็ดขาด
- ห้ามไม่ให้บันไดรับน้ำหนักเกินอัตราสูงสุดที่รับได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งผู้ผลิตหรือวิศวกรระบุไว้ข้างต้นในใบแนะนำสินค้าแล้ว
- ใช้บันไดเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบ และควรเป็นบันได้ที่ได้มาตราฐานสมบูรณ์
- ใช้บันไดเฉพาะที่ตั้งบนพื้นแข็งแรงและมั่นคง ยกเว้นมีการผูก หรือมัด เพื่อไม่ให้เคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ
- ห้ามใช้บันไดที่ตั้งบนพื้นเปียกลื่นยกเว้นใช้ที่รองขาบันไดชนิดกันลื่น เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อใช้ที่รองขาป้องกันการลื่นแล้วจะละเลยความระมัดระวังเมื่อมีการตั้ง หรือผูกมัดบันไดบนพื้นลื่น ควรทำงานอย่างระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น
- ต้องผูกมัดบันไดให้มั่นคงหากตั้งอยู่บริเวณเป็นทางเดิน ประตู เส้นทางยานพาหนะหรือบริเวณอื่นๆ อันอาจทำให้บันไดเคลื่อนที่จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจนไปอยู่ตำแหน่งอันตราย หรือใช้เครื่องกั้นระหว่างตัวบันไดกับคนหรือยานพาหนะเหล่านั้น
- ทำให้ส่วนบนและส่วนล่าของบันไดสะอาดและไร้สิ่งกีดขวาง ใดๆในขณะที่ใช้งานอยู่เสมอ
- ห้ามเคลื่อนย้าย หด หรือ ยืดบันไดขณะมีการใช้งานอย่างเด็ดขาด
- ใช้บันไดที่มีราวไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าในกรณีบันไดอาจไปสัมผัสกระแสไปฟ้า (สายหรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่) ขณะใช้งาน
- ควรหันหน้าเข้าหาบันไดขณะไต่ขึ้นหรือลง และขณะทำงาน
- ใช้มือหนึ่งข้างจับบันไดไว้อย่างน้อยหนึ่งข้างขณะไต่ขึ้นและลง
- ขณะอยู่บนบันได ห้ามถือวัตถุหรือสัมภาระที่ทำให้เสียสมดุลจนอาจตกบันไดได้
ข้อกำหนดเพิ่มเติมต่อไปนี้ ให้ใช้กับทุกบันได รวมถึงบันไดสร้างขึ้นมาเฉพาะงาน
- นายจ้างต้องจัดหาบันไดชนิดสองทาง (Double-cleated ladders) หรือ บันไดสองตัวหรือมากกว่ามาใช้ในกรณีบันไดหนึ่งตัวถูกใช้เฉพาะเป็นทางขึ้นหรือ ทางลง (บันไดสำหรับใช้ขึ้นและสำหรับใช้ลงแยกกันคนละตัว) ในพื้นที่ทำงานซึ่งมีคนตั้งแต่ 25 คนขึ้น หรือเมื่อบันไดตัวใดตัวหนึ่งถูกใช้สัญจรทั้งสองทางอย่างต่อเนื่อง
- ส่วนประกอบของบันไดทั้งหมด ทั้งเสาบันไดหรือราวบันได ขั้นบันได ที่เหยียบบนชั้นบันไดต้องอยู่ในตำแหน่งสมดุล มีระเบียบและมั่นคงเมื่อบันไดอยู่บนที่ตั้งขณะใช้งาน (ตัวอย่าง เช่น ขั้นบันไดขนานกันพื้น เสาบันไดทั้งสองข้างทำมุมเท่ากัน และพาดเป็นเส้นตรงไม่เอียงไปทางซ้ายหรือทางขวา เป็นต้น)
- บันไดชนิดยกเคลื่อนย้ายได้ (Portable Ladders) และชนิดติดอยู่กับที่ (Fixed Ladders) ระยะ ห่างระหว่างเสาบันไดสองด้านหรือระยะความกว้างของชั้นบันไดต้องไม่น้อยกว่า 25 ซ.ม. (10 นิ้ว) แต่ไม่เกิดกว่า 36 ซ.ม. (14 นิ้ว) เท่ากันตลอดจนสุดทาง
- ขั้นรองรับ (Step Stool) สำหรับ ก้าวขึ้นไปหยิบของระยะไม่สูงมากนัก (ส่วนใหญ่มีไม่เกิน 3 ขั้น) ต้องมีความกว้างของชั้นเหยียบไม่น้อยกว่า 20 ซ.ม. (8 นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 31 ซ.ม. (12 นิ้ว) เท่ากับทุกขั้น
- บันไดที่มีส่วนต่อขยายจากส่วนปลาย (Extension trestle ladders) ระยะ ความกว้างของบันไดต้องไม่น้อยกว่า 20 ซ.ม. (8 นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 46 ซ.ม. (18 นิ้ว) เท่ากันทุกขั้นขณะที่บันไดส่วนขยาย ระยะความกว้างของขั้นบันไดต้องไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. (6 นิ้ว) แต่ไม่เกินกว่า 31 ซ.ม. (12 นิ้ว) เท่ากันทุกขั้น
- ไม่ต้องมัดหรือผูกบันไดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความสูง ยกเว้นออกแบบมาให้สามารถทำเช่นนั้นได้
- เมื่อเลื่อนรางขยายบันไดให้สูงขึ้นไปเสาค้ำบันไดและขั้นบันไดของส่วนขยายนั้นต้องแข็งแรงเทียบเท่าตัวบันไดที่เป็นพื้นฐาน
- เมื่อใช้บันไดสองตัวหรือมากกว่าตั้งขึ้นไปยังพื้นที่ทำงาน จะต้องมีแท่นพื้นหรือลานอยู่ระหว่างบันได ห้ามใช้วิธีต่อบันไดรวดเดียวถึงที่หมาย ยกเว้นจะใช้บันไดเคลื่อนย้ายได้พาดไปยังบันไดอยู่กับที่ (Fixed Ladders)
- ส่วนประกอบของบันไดต้องมีผิวเรียบเพื่อป้องกันไม่ให้ไปเกี่ยวเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคนงานจะทำให้เกิดการบาดเจ็บจนเกิดบาดแผล
- บันไดทำจากไม้ต้องไม่เคลือบหรือติดด้วยวัสดุทึบแสงใดๆ ยกเว้นเพื่อจัดประสงค์ในการระบุบันไดและการเตือนอันตราย แต่ต้องทำที่เสาบันได (ราวบันได) ด้านในด้านหนึ่งเท่านั้น
หมายเหตุ ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาควรตรวจสอบความบกพร่องที่มองเห็นได้เป็นระยะ ทั้งก่อนทำงานหรือหลังจากทำงานเสร็จ และควรดูแลรักษาให้สามาถใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
 ====================================================================

ติดตามบทความได้ที่ http://goo.gl/AucNKj

FanPage   https://www.facebook.com/multiladderth

สอบถามรายละเอียด บันไดอลูมิเนียม ราคา ถูก รุ่นต่างๆ เชิญได้ที่
http://www.multiladderth.com/

พูดคุยกับเรา Multi-X ได้ทาง


☎ Tel : 0941457091

Line : 0941457091

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน



OSHA คืออะไร
อาจมีน้อยคนที่อาจรู้จักคำนี้ OSHA คำนี้ได้มาจากพระราชบัญญัติที่บอกถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของไทย OSHA คือ คณะกรรมการบริหารงานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพ (Occupational Safety and Health Administration – OSHA) ของสหรัฐอเมริกา โดยเป็นคณะที่ทำงานในสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ (The American National Standard Institute) โดยก่อตั้งมาจากคณะกรรมการมาตรฐานวิศวกรรมอเมริกา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมมาตรฐานอเมริกา (America National Standard Institute) ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2461) การจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้นมาทำให้เรามีคำนึงถึงความสำคัญของความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมจึงได้มีการจัดตั้งสมาคมที่ป้องกันอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า (The Industrial Accident Prevention Association – IAPA) โดยเกิดจากความร่วมมือจากบุคคลที่ทำงานในหลากหลายอาชีพร่วมเป็นสมาชิก เพื่อร่วมกันศึกษาหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิด พร้อมทั้งการเสนอแนะวิธีการป้องกันอีกทั้งยังจัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมการป้องกันอุบัติเหตุ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโทรอนโท (Toronto) ในประเทศแคนาดา
ความปลอดภัยในการใช้บันได
ความปลอดภัยในการใช้ บันไดอลูมิเนียม 7 ขั้น เมื่อทำงานบนที่สูงหรือบริเวณรอบๆ บันไดที่เป็นชนิดสร้างขึ้นติดกับโครงสร้างของอาคาร (Stairways) และชนิดบันไดที่แยกออกมาเป็นตัว (Ladders) มีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายสูงพอๆกัน จากการบันทึกข้อมูลในทางสถิติพบว่าบันไดก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนงานก่อสร้างได้ และส่งผลให้คนงานถึงขั้นหยุดงานได้ งานบริหารความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน (OSHA) และกระทรวงแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกาได้ตั้งกฎความปลอดภัยในการใช้บันไดของ OSHA ดังต่อไปนี้สำหรับงานก่อสร้าง ดัดแปลง ซ่อมแซม ตกแต่ง ทางสี และรื้อทำลาย ตามขอบข่ายการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยและสุขภาพในการก่อสร้างของสำนัก
ข้อกำหนดทั่วไปของบันได(Stairways)
1.      ถ้าบริเวณที่ทำงานมีความสูงตั้งแต่ 48 ซ.ม. หรือ 19 นิ้วขึ้นไป โดยบริเวณพื้นที่ทำงานนั้นต้องไม่มีเนินทางลาด หรือขั้นในการขึ้นลง นายจ้างต้องมีการจัดหาบันไดให้ลูกจ้างเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการขึ้นลงสำหรับพื้นที่ทั้งหมด
2.      ถ้ามีเส้นทางเดียวเท่านั้นที่ใช้สำหรับขึ้นลงระหว่างพื้นระดับต่างๆ นายจ้างต้องเคลียบริเวณเส้นทางนั้นให้โปร่งโล่งปราศนาจากสิ่งของที่กีดขวางทางเดินเนื่องจากเส้นทางนี้ต้องใช้เป็นทางผ่านของคนงาน แต่หากเส้นทางที่ใช้สำหรับขึ้นลงลักษณะเดียวกันมีอีกหนึ่งอาจให้คนงานเลิกใช้เส้นทางนั้นแทน
3.      ถ้าเส้นทางสำหรับใช้ขึ้นลงนี้มีระหว่างระดับต่างๆกัน มากกว่า 2 เส้นทาง นายจ้างจะต้องแน่ใจว่าอย่างน้อย 1 เส้นทาง มีสภาพโล่งและไร้สิ่งกีดขวาง
ข้อบังคับเพิ่มเติม ในบทบาทของนายจ้างจะต้องติดตั้งระบบการป้องกันการตก (Fall Protection Systems) ไว้บริเวณบันไดทุกแห่งตามข้อกำหนด และในใจก่อนคนงานจะใช้บันไดทั้งหมดมีคุณสมบัติตรงตามที่กฎหมายบังคับ
บันไดชนิดแยกเฉพาะตัว(Ladders)
กฎต่อไปนี้ใช้กับ Ladders ทั้งหมด
1.      ห้ามไม่ให้บันไดรับน้ำหนักเกินอัตราสูงสุดที่รับได้
2.      ใช้บันไดเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบ
3.      บันไดต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี และสิ่งจะทำให้ลื่นอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา
4.      ต้องตั้งบนพื้นที่แข็งแรงและมั่นคง ยกเว้นมีการผูก หรือมัด เพื่อไม่ให้เคลื่อนไหวอันอาจจะเกิดอุบัติเหตุ
5.      ห้ามตั้งบันไดบนพื้นเปียกลื่นยกเว้นใช้ที่รองขาบันไดอลูมิเนียมยืดหดได้ชนิดกันลื่น เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อใช้ที่รองขาป้องกันการลื่นแล้วจะละเลยความระมัดระวังเมื่อมีการตั้ง หรือผูกมัดบันไดบนพื้นลื่น
6.      ต้องผูกมัดบันไดให้มั่นคงหากตั้งอยู่บริเวณเป็นทางเดิน ประตู เส้นทางยานพาหนะหรือบริเวณอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้บันไดเคลื่อนที่จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจนไปอยู่ตำแหน่งอันตราย หรือใช้เครื่องกั้นระหว่างตัวบันไดกับคนหรือยานพาหนะเหล่านั้น
7.      บริเวณส่วนบนและส่วนล่างของบันไดต้องสะอาดและไร้สิ่งกีดขวาง
8.      ห้ามเคลื่อนย้าย หด หรือ ยืดบันไดขณะมีการใช้งาน
9.      ในกรณีบันไดอาจไปสัมผัสกระแสไปฟ้า (สายหรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่) ขณะใช้งานห้ามใช้บันไดที่มีราวและไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
10.  ต้องหันหน้าเข้าหาบันไดทุกครั้งขณะไต่ขึ้นลงบันได
11.  ต้องใช้มือข้างหนึ่งจับบันไดไว้อย่างน้อยหนึ่งข้างขณะไต่ขึ้นและลง
12.  ขณะอยู่บนบันได ห้ามถือวัตถุหรือสัมภาระที่ทำให้เสียสมดุลจนอาจตกบันไดได้