เรามักพบว่าไม่มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนไว้ภายในบ้านหรือที่อยู่อาศัยในอายุบ้าน 15 ปี ขึ้นไป อาจเป็นเพราะสินค้าประเภทฉนวนกันความร้อนช่วงเวลานั้นยังเป็นของใหม่ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในตลาดวัสดุก่อสร้างทั่วไป โดยสมัยนั้นยังไม่ร้อนมากเหมือนในปัจจุบัน ฉนวนกันความร้อนมีหลายประเภทให้เลือก แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนที่แตกต่างกันไป
ถ้าถามว่าบ้านที่สร้างเสร็จไปแล้วสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายหลังได้หรือไม่ คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่การติดตั้งจะแตกต่างออกไปจากฉนวนที่จัดทำไปพร้อมกับงานก่อสร้าง โดยในงานก่อสร้างทั่วไปนิยมติดตั้งฉนวนกันความร้อนชนิดแผ่นฟรอยล์สะท้อนความ ร้อนไปพร้อมกับการมุงกระเบื้องหลังคา ในกรณีที่ต้องการติดตั้งแผ่นฟรอยล์สะท้อนความร้อนภายหลัง จะต้องตรวจสอบพื้นที่ใต้หลังคาเสียก่อนดังนี้
1. ให้ตรวจดูว่าหลังคารั่วหรือไม่ และหากมีรูรั่วควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน เพราะการซ่อมรอยรั่วภายหลังจะทำได้ยากมาก
2. จากนั้นดูว่าชายคามีช่องหรือรูที่นกหรือหนูจะสามารถเข้ามาทำรังได้หรือไม่ หากมีควรจัดการซ่อมแซมปิดช่องหรือรูให้เรียบร้อย
3. ให้พิจารณาดูโครงลวดที่แขวนฝ้าเพดานว่าสิ่งเหล่านั้นอุปสรรคต่อการติดฉนวนกันความร้อนซึ่งจะลาดไปตามองศาของหลังคาหรือไม่
4. ควรตรวจดูโครงหลังคา หากเป็นโครงหลังแบบคาไม้ ให้ดูรอยผุ แตก มีปลวกกิน มีแมลงทำรัง หากพบให้ซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน และจัดการให้อยู่สภาพดี
5. จากนั้นให้ พิจารณาดูพื้นที่ว่าสามารถนำไม้กระดานขึ้นไปพาดทำทางเดินหรือพื้นที่พอให้นำฉนวนที่มีลักษณะเป็นม้วนขึ้นมาใช้งานได้สะดวกหรือไม่
เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เรียบร้อยก็มาถึงขั้นตอนของการติดตั้งฉนวนกัน ความร้อนซึ่งฉนวนกันความร้อนมีหลายแบบแต่จะยกตัวอย่างแค่บางประเภท คือ แบบฟรอยล์สะท้อนความร้อน และ แบบแผ่นแข็งหรือแบบใยแก้วหุ้มฟรอยล์ชนิดม้วน
การติดตั้งฉนวนชนิดฟรอยล์สะท้อนความร้อน
1. ให้วัดขนาดช่องหรือระยะระหว่างโครงแต่ละตัว (ปกติแล้วจะเท่าๆกัน) ซึ่งมีระยะประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร เพื่อนำไปเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนที่มีความกว้างเหมาะสมกับการใช้งาน
2. ทำการขึงสแตนเลส หรือลวด ขึงระหว่างท้องจันทันแต่ละช่องเป็นรูปกากบาทเพื่อใช้รองรับแผ่นฉนวนใต้ หลังคา
3. กรณีที่เอื้อมไม่ถึงให้ใช้ บันไดอลูมิเนียมสไลด์ ปีนขึ้นไปสอดแผ่นฟรอยล์ โดยเริ่มจากจุดสูงสุดแล้วค่อยๆ คลี่ลงมาหาจุดต่ำสุดบริเวณชายคา จัดทำทีละช่องจันทันจนแล้วเสร็จ
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นแข็งหรือแบบใยแก้วหุ้มฟรอยล์ชนิดม้วน
การติดตั้งฉนวนทั้งสองแบบนี้อาจง่ายกว่าแบบแรกตรงที่ไม่ขึ้นไปขึงลวด และปูแผ่นฉนวน แต่การติดตั้งแบบนี้จะตัดต่อแผ่นฉนวนในบริเวณที่แผ่นฉนวนชนกับตำแหน่งลวด แขวนฝ้าเพดาน หรือชนกับตำแหน่งไฟฝังเพดาน ควรใช้บันไดอลูมิเนียม 7 ขั้น ในการขึ้นไปติดแผ่นชนวนต้องชิดกับอุปกรณ์มากที่สุด การซ่อมหรือต่อแผ่นฉนวนควรใช้เทปกาวที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน เหมือนกัน และไม่ว่าจะปูแผ่นฉนวนชนิดใดก็ตาม ขอให้คำนึงถึงเรื่องการปิดรอยต่อ รอยขาดชำรุดต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อประโยชน์สูงสุดของการป้องกันมิให้ความร้อนเข้าสู่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น