วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน 5





การทำงานใกล้กับสายไฟฟ้า จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และไม่ควรใช้บันไดที่ทำจากวัสดุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ควรที่จะดูรายละเอียดในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของบันไดประเภทนั้น ๆ ก่อน เพราะในบางครั้งบันไดที่ดูไม่ใช่โลหะ อาจมีการเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็ก หรือวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ จึงไม่ควรประมาท กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าสายไฟที่อยู่เหนือศีรษะมีกำลังไฟ 50 KV หรือน้อยกว่านั้น ควรวางบันไดให้ห่างสายไฟอย่างน้อย 10 ฟุต (3 เมตร) ถ้ากำลังไฟสูงกว่านั้น ต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 35 ฟุต (10.5 เมตร)
ควรนึกคิดและระวังไว้เสมอว่า ในการทำงานบนบันไดนั้น ไม่ควรนั่งทำงานบนขั้นบันได เพราะในกรณีที่เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือรู้สึกกลัวขึ้นมาอย่างกะทันหันในขณะที่ทำงานอยู่บนบันได อาจเกิดอันตรายได้เสมอ วิธีแก้ไขควรโน้มตัว ศีรษะ และพับแขนทั้ง 2 ข้างกอด ขั้นบันไดไว้ หลับตาสักครู่ และรอจนกระทั่งอาการดีขึ้นค่อยลืมตาขึ้นมา และพิจารณาว่าจะทำงานต่อไหวไหม ถ้าไม่ไหวควรปีนกลับลงมาข้างล่างจะดีกว่า
ในการใช้งานบันไดทรง A - frame เพื่อให้ได้ความปลอดภัยมากที่สุดนั้น ควรมีความยาวไม่เกิน 20 ฟุต ส่วนบันไดพาดแบบไม่ยืดขยาย ควรมีความยาวไม่เกิน 30 ฟุต และบันไดพาดแบบยืดขยาย ควรมีความยาวไม่เกิน 60 ฟุต
การ บำรุงรักษา เมื่อใช้บันไดเสร็จแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้ข้างนอกหรือปล่อยทิ้งไว้ ให้ตากแดด ตากฝน ใกล้สารเคมี อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง หรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อน เช่น เตาเผา ท่อไอน้ำ และบริเวณที่ใกล้เครื่องจักรกลต่าง ๆ เพราะจะมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบันได ดังนั้นควรที่จะเก็บบันไดไว้ในห้องเก็บของ หรือวางไว้บนชั้น หรือสถานที่เก็บโดยเฉพาะให้เป็นสัดเป็นส่วน ไม่เก็บปะปนกับวัสดุ อุปกรณ์อื่น ๆ ควรมีที่ยึดบันไดไว้เพื่อป้องกันการล้ม และสถานที่เก็บควรเป็นที่ที่สามารถจะนำบันไดออกไปใช้งานได้โดยสะดวก
        สำหรับ การบำรุงรักษาบันไดนั้น ควรมีการหล่อลื่นบานพับ ขันน็อตต่าง ๆ ให้แน่นอยู่เป็นระยะ และต้องมีการตรวจสภาพความพร้อม ก่อนที่จะนำออกไปใช้งาน และหลังการใช้งาน ก่อนที่จะเก็บ ก็ต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ควรจะทำการบำรุงรักษาเป็นประจำทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด ในการตรวจสอบก็ควรทำรายงานหรือบันทึกผลไว้ด้วย และควรมีการจัดทำประวัติการซ่อมแซม เพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้งานบันไดนั้นๆ สรุปแล้วการใช้บันไดสำหรับการทำงานบนที่สูงนั้น ควรรู้ว่าเมื่อไรควรนำบันไดมาใช้ และต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภท เข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง มีการวางแผนการทำงาน รวมทั้งมีกรรมวิธีที่ดีในการทำงาน บำรุงรักษา และตระหนักถึงควา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น