วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้บันไดอย่างปลอดภัยและถูกวิธี ตอนที่ 2



ส่วนจุดที่รองรับการพาดของบันไดด้านบนนั้น ควรวางพาดได้แนบสนิท และควรมีที่ล็อค หรือใช้เชือกมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้าง ไว้กับจุดพาดด้านบน เพื่อป้องกันการเลื่อนไถลออกจากตำแหน่ง และถ้าใช้บันไดเพื่อก้าวข้ามไปทำงานอีกจุดหนึ่งที่ด้านบนก็ควรให้ปลายบันได มีขนาดยาวเกินกว่าจุดรองรับอย่างน้อย 1 เมตร ประมาณขั้นบันไดที่ 3 นับจากด้านบนสุดลงมา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะห่างในแต่ละขั้นบันไดจะกว้างประมาณ 1 ฟุต (30 cm.) หรือประมาณ 10” (25 cm.) –14” (36 cm.) และควรมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างไว้กับจุดพาดให้แน่นหนา ใช้เชือกมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างกับจุดพาดด้านบนให้แน่นหนา
การก้าวข้ามไปทำงานอีกจุดหนึ่ง ควรให้ปลายบันไดยาวเกินกว่าจุดรองรับอย่างน้อย 1 เมตรและมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างให้แน่นหนาถ้าบริเวณที่ตั้งบันไดเป็นทางผ่าน ทางสัญจร ควรกั้นอาณาเขตและติดป้ายบอก ห้ามชนหรือ “ห้ามขยับ” หรือใช้คนยืนเฝ้าระวังให้ และถ้าพาดบันไดผ่านที่ด้านหน้าของประตู หรือหน้าต่าง ก็ต้องปิดล็อคประตู-หน้าต่างให้เรียบร้อยและติดป้ายบอกไว้ด้วยว่า ห้ามเปิดแต่ถ้าพาดผ่านหน้าต่างที่เปิดไว้ ก็สามารถใช้สายยึดราวบันไดทั้ง 2 ข้างไว้กับคร่าวกลางของกรอบหน้าต่างก็ได้และถ้าจำเป็นต้องทำงานในอุโมงค์หรือในเนื้อที่จำกัด ควรมีเนื้อที่เหลือตามแนวขนานกับบันไดอย่างน้อย 1 เมตร ใช้สายยึดราวบันไดทั้ง 2 ข้างไว้กับคร่าวกลางของกรอบหน้าต่าง
มุมและความชันในการตั้งบันได ไม่ควรตั้งบันไดในที่ที่มีความชันเกิน 16 องศา วัดจากแนวระนาบด้านข้างของบันได และในพื้นที่ที่มีความชันเกิน 6 องศาวัดจากแนวระนาบด้านหลังของบันได (รูปที่ 9) ถ้ามีความจำเป็นต้องตั้งบันไดในที่ที่มีความชัน ก็ควรมีอุปกรณ์เสริมบริเวณข้างใต้ขาบันไดให้มีความมั่นคงและได้ระดับ
ส่วนมุมในการตั้งหรือวางพาดบันไดนั้น ควรมีระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังกับความยาวของบันไดนับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วน 1:4 หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังประมาณ 75 องศา ซึ่งการตั้งบันไดในที่ที่มีความชันไม่เกิน 16 องศาวัดจากแนวระนาบด้านข้างของบันได และมีความชันไม่เกิน 6 องศาวัดจากแนวระนาบด้านหลังของบันได ในการตั้งบันได ควรมีระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของบันไดนับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วน 1:4 หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังประมาณ 75 องศา
 
====================================================================

ติดตามบทความได้ที่ http://goo.gl/AucNKj

FanPage   https://www.facebook.com/multiladderth

สอบถามรายละเอียด บันไดอลูมิเนียม ราคา ถูก รุ่นต่างๆ เชิญได้ที่
http://www.multiladderth.com/

พูดคุยกับเรา Multi-X ได้ทาง

☎ Tel : 0941457091

Line : 0941457091

การใช้บันไดแต่ละชนิดอย่างปลอดภัยและถูกวิธี



ในการใช้บันไดทุกครั้งอย่างแรกที่เราควรทำคือ พิจารณาถึงปัจจัยหลายๆ อย่างในการใช้บันได เช่น จำเป็นต้องใช้บันไดหรือไม่ ถ้าควรใช้ต้องใช้บันไดแบบไหน และเราสามารถขึ้นที่สูงได้ไหม อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไหม รวมไปถึงฐานที่ตั้งของบันไดนั้นมีความมั่งคงหรือไม่ เป็นต้น เพราะการทำงานในที่สูงนั้นมีความเสี่ยงอย่างมากที่ถ้าเกิดความผิดพลาด จะเกิดการได้รับบาดเจ็บอย่างร้ายแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้ จึงได้มีขั้นตอนการใช้งานอย่างถูกวิธีมาแนะนำดังนี้
1.     การเคลื่อนย้ายและการยกบันไดพับเก็บได้ ควรจะพับให้สั้นที่สุดก่อนทำการยกหรือเคลื่อนย้ายทุกครั้ง การยกให้ยกแบบเฉียงข้างหน้าให้สูงกว่าข้างหลัง ถ้าบันไดยังยาวอยู่ให้ใช้ 2 คน ยกหัวยกท้ายของบันไดและไม่ควรวางสิ่งของบนบันได
2.    การ ตั้งบันไดให้ใช้ปลายขาบันได้ยังไวกับฐานด้านล่างของผนังที่ต้องการพาด ยกปลายอีกด้านหนึ่งขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มือจับขั้นบันไดเลื่อนไปทีละขั้นๆ จนกระทั้งส่วนปลายแตะผนังแล้วค่อยๆดีคงด้านล่างถอยออกมาให้ขาบันไดห่างออกมา จากผนังส่วนบันไดที่มีขนาดยาวหรือแบบ 23 ตอน ต้องใช้คน 2 คน ช่วยกันตั้งบันได โดยคนหนึ่งยืนเหยียบที่ปลายขาบันไดใกล้กับผนังที่ต้องการพาด แล้วอีกคนหนึ่งยกปลายอีกด้านหนึ่งขึ้นเดินตรงเข้าหาโดยการจับขั้นบันได เลื่อนทีละขั้น ๆ จนบันไดตั้งตรงแล้วช่วยกันจับพยุงบันไดพาดกับผนังด้านบน แล้วค่อย ๆ ถอยปลายขาบันไดห่างออกมาจากผนัง ส่วนบันไดแบบ A–frame นั้น ก็ต้องกางขาบันไดออกให้อยู่ในตำแหน่งที่ตัวล็อคขา สามารถล็อคได้อย่างปลอดภัย
3.    บริเวณ ที่ตั้งบันได ต้องไม่มีอะไรกีดขวาง โดยพื้นผิวบริเวณฐานบันไดต้องมั่นคง ได้ระดับ ไม่ลื่นหรือเปียกแฉะ ไม่สกปรก ไม่มีเศษน้ำมัน สารหล่อลื่น ตะไคร่น้ำ เศษขยะหรือถุงพลาสติก โดยเฉพาะพื้นผิวขัดมัน หรือพื้นผิวที่เกาะตัวกันแบบหลวม ๆ เช่น ทรายหรือโคลน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะขาบันไดอาจลื่นไถลออกจากตำแหน่งและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ในกรณีที่พิจารณาแล้วพบว่าพื้นผิวมีลักษณะไม่ค่อยมั่นคง อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้กระดานแผ่นเรียบรองขาตั้ง เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักและให้ความมั่นคงยิ่งขึ้น หรือใช้ไม้ตีประกับ เพื่อเป็นฐานรองรับและล็อคขาตั้งไม่ให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งหรือใช้สายยึดขาบันไดไว้กับห่วงเหล็กที่ตอกตรึงผนังและไม่ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเสริมความสูงของบันไดที่ดูแล้วไม่ปลอดภัย เช่น อิฐบล็อก กล่องหรือถัง เพราะอาจไม่แข็งแรงและมั่นคงพอ แต่ควรเลือกใช้ขนาดความยาวของบันไดให้เหมาะสมกับความสูงของงานจะเป็นการดีกว่า
 
====================================================================

ติดตามบทความได้ที่ http://goo.gl/AucNKj

FanPage   https://www.facebook.com/multiladderth

สอบถามรายละเอียด บันไดอลูมิเนียม ราคา ถูก รุ่นต่างๆ เชิญได้ที่
http://www.multiladderth.com/

พูดคุยกับเรา Multi-X ได้ทาง

☎ Tel : 0941457091

Line : 0941457091

ข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน 5





การทำงานใกล้กับสายไฟฟ้า จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และไม่ควรใช้บันไดที่ทำจากวัสดุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ควรที่จะดูรายละเอียดในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของบันไดประเภทนั้น ๆ ก่อน เพราะในบางครั้งบันไดที่ดูไม่ใช่โลหะ อาจมีการเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็ก หรือวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ จึงไม่ควรประมาท กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าสายไฟที่อยู่เหนือศีรษะมีกำลังไฟ 50 KV หรือน้อยกว่านั้น ควรวางบันไดให้ห่างสายไฟอย่างน้อย 10 ฟุต (3 เมตร) ถ้ากำลังไฟสูงกว่านั้น ต้องมีระยะห่างอย่างน้อย 35 ฟุต (10.5 เมตร)
ควรนึกคิดและระวังไว้เสมอว่า ในการทำงานบนบันไดนั้น ไม่ควรนั่งทำงานบนขั้นบันได เพราะในกรณีที่เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน หรือรู้สึกกลัวขึ้นมาอย่างกะทันหันในขณะที่ทำงานอยู่บนบันได อาจเกิดอันตรายได้เสมอ วิธีแก้ไขควรโน้มตัว ศีรษะ และพับแขนทั้ง 2 ข้างกอด ขั้นบันไดไว้ หลับตาสักครู่ และรอจนกระทั่งอาการดีขึ้นค่อยลืมตาขึ้นมา และพิจารณาว่าจะทำงานต่อไหวไหม ถ้าไม่ไหวควรปีนกลับลงมาข้างล่างจะดีกว่า
ในการใช้งานบันไดทรง A - frame เพื่อให้ได้ความปลอดภัยมากที่สุดนั้น ควรมีความยาวไม่เกิน 20 ฟุต ส่วนบันไดพาดแบบไม่ยืดขยาย ควรมีความยาวไม่เกิน 30 ฟุต และบันไดพาดแบบยืดขยาย ควรมีความยาวไม่เกิน 60 ฟุต
การ บำรุงรักษา เมื่อใช้บันไดเสร็จแล้ว ไม่ควรทิ้งไว้ข้างนอกหรือปล่อยทิ้งไว้ ให้ตากแดด ตากฝน ใกล้สารเคมี อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง หรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างร้อน เช่น เตาเผา ท่อไอน้ำ และบริเวณที่ใกล้เครื่องจักรกลต่าง ๆ เพราะจะมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบันได ดังนั้นควรที่จะเก็บบันไดไว้ในห้องเก็บของ หรือวางไว้บนชั้น หรือสถานที่เก็บโดยเฉพาะให้เป็นสัดเป็นส่วน ไม่เก็บปะปนกับวัสดุ อุปกรณ์อื่น ๆ ควรมีที่ยึดบันไดไว้เพื่อป้องกันการล้ม และสถานที่เก็บควรเป็นที่ที่สามารถจะนำบันไดออกไปใช้งานได้โดยสะดวก
        สำหรับ การบำรุงรักษาบันไดนั้น ควรมีการหล่อลื่นบานพับ ขันน็อตต่าง ๆ ให้แน่นอยู่เป็นระยะ และต้องมีการตรวจสภาพความพร้อม ก่อนที่จะนำออกไปใช้งาน และหลังการใช้งาน ก่อนที่จะเก็บ ก็ต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ควรจะทำการบำรุงรักษาเป็นประจำทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด ในการตรวจสอบก็ควรทำรายงานหรือบันทึกผลไว้ด้วย และควรมีการจัดทำประวัติการซ่อมแซม เพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยในการใช้งานบันไดนั้นๆ สรุปแล้วการใช้บันไดสำหรับการทำงานบนที่สูงนั้น ควรรู้ว่าเมื่อไรควรนำบันไดมาใช้ และต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภท เข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง มีการวางแผนการทำงาน รวมทั้งมีกรรมวิธีที่ดีในการทำงาน บำรุงรักษา และตระหนักถึงควา