วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การแก้ปัญหาท่อน้ำแตกรั่วโดยใช้บันไดพับเก็บได้
ส่วนใหญ่ภายในบ้านหรือที่อยู่อาศัยไม่ก็ร้านค้าทั่วไปมักจะใช้ท่อน้ำที่เป็นท่อพีวีซีสีฟ้าที่เรารู้กันอยู่แฃ้วว่าเป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับมาตรฐานสากลสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์ทั่วไป แถมใช้งานได้ง่ายอีกด้วย แต่ปัญหาหลักที่สร้างความเสียหายให้กลับตัวอาคารไม่ได้มาจากวัสดุอุปกรณ์ แต่มาจากความสามารถและความชำนาญของช่าง ถ้าช่างที่มีความชำนาญน้อยหรือฝีมือต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการเรียนมา และมักจะอาศัยการจำหรือผ่านประสบการณ์งานมาแบบครึ่งๆกลางๆซึ่งพอเจอปัญหาใหญ่จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือไม่ก็พอเจอปัญหาเล็กๆน้อยๆก็แก้ไขแบบถูๆไถๆเอาตัวรอดไป งานที่ผ่านมือช่างเหล่านี้มักจะมีปัญหาตามมาหลังจากที่ใช้งานท่อน้ำไปได้ระยะหนึ่ง และปัญหาที่ที่พบมากที่สุดคือ น้ำรั่วบริเวณข้อต่อต่างๆ เนื่องจากการต่อท่อพีวีซีที่ไม่ได้มาตรฐานจากช่างที่ไม่ชำนาญการ จะพบว่าท่อจะไม่ถูกทากาวเลย และพบได้บ่อยๆ คือการไม่ทดสอบแรงดันน้ำในเส้นท่อก่อนว่าแรงดันน้ำสูงสุดท่อสามารถรับแรงดันได้หรือไม่
ทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง ได้แก่
1. ฝ้าเพดานด้านบนมีลักษณะบวมน้ำเกิดจากท่อน้ำบนฝ้าเพดานรั่วซึม ถ้าเกิดฝ้าเพดานแบกรับน้ำหนักของน้ำที่รั่วจากท่อมาไม่ไหวระยะเวลานานมันจะพังลงมา สาเหตุที่เกิดจากท่อน้ำเหนือเพดานที่รั่วนั้น ส่วนใหญ่พบว่ามีการรั่วบริเวณข้อต่อท่อ อีกทั้ง ยังพบว่าแฮงเกอร์หรือขาแขวนท่อทำให้เกิดปัญหาโดยเฉพาะการติดตั้งขาแขวนที่ห่างกันเกินไปและไม่รัดบริเวณท่อกับขาแขวนให้มั่นคง เมื่อเกิดแรงดันในท่อน้ำมากๆ ท่อน้ำก็จะมีการขยับเลื่อนหรือส่ายตัว ทำให้ข้อต่อคลายตัวหรือคลอนออกจากกันที่ละนิดๆ จนเกิดการรั่วซึมของท่อน้ำ
วิธีการแก้ไข เริ่มจากการตัดหรือกรีดบริเวณแผ่นฝ้าที่เปียกชื้นออกให้หมด แล้วปีน บันไดอลูมิเนียมสไลด์ ขึ้นไปซ่อมท่อน้ำ แก้ไขบริเวณที่ติดตั้งโดยการขันข้อต่อให้แน่นหนา หากมีความเสียหายมาก ให้ตัดส่วนที่เสียหายนั้นทิ้งไปแล้วต่อส่วนท่อขึ้นมาใหม่ ยึดบริเวณขาแขวนให้เรียบร้อย จากนั้นให้ทดสอบปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อสัก 2-3 วัน ดูในแน่ใจว่าไม่มีน้ำหยดลงมา จึงค่อยซ่อมแซมฝ้าเพดานที่ตัดหรือกรีดออกและทาสีให้เรียบร้อยโดยใช้ บันไดอลูมิเนียม ได้
2. สีที่ทาบนผนังจะปูดบวม ชื้น หรือขึ้นราดำเป็นทางหรือเป็นเส้นตรงไปตามแนวท่อน้ำในผนัง ได้แก่ ท่อที่จ่ายน้ำไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้า ฝักบัว ชักโครก ก๊อกน้ำทั่วไป ฯลฯ สาเหตุเกิดจากการรั่วซึมในบริเวณข้อต่อท่อ การสังเกตที่ผนังด้านในห้องน้ำอาจดูยาก เพราะผิวหน้าได้ปูกระเบื้องทับหน้าไว้ น้ำที่ไหลซึมมักจะไม่เห็นเนื่องจากอยู่หลังแผ่นกระเบื้องแล้วไหลมารวมกันเข้าสู่กระเบื้องแถวล่างๆ หรือพื้น ทำให้ประเมินได้ยากว่ารอยรั่วนั้นเริ่มจากตรงไหน เว้นแต่ต้องเลาะกระเบื้องออกให้เห็นเป็นบริเวณกว้างจึงจะพบว่าบริเวณไหนเป็นสาเหตุของปัญหา โดยใช้บันไดอลูมิเนียม 7 ขั้น
การแก้ไขปัญหาหลังจากที่พบรอยซึมบนผนังให้ใช้ค้อนหรือสว่านไฟฟ้าแบบเจอะกระแทกสกัดผิวผนังออกค่อยๆทำอย่าให้รุนแรงจนกระเทือนไปถึงโครงสร้างอาคารเดียวกันจะก่อให้เกิดปัญหาลุกลามใหญ่โต ถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องตัดไฟเบอร์ที่ให้กรีดบริเวณผนังก็ต้องทำในที่โล่งๆเนื่องจากว่า ฝุ่นผงปูนอาจจะฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งห้อง แต่เป็นการทำงานก็จะรวดเร็วกว่าการสกัดโดยใช้สว่านไฟฟ้าและไม่สร้างความสะเทือนแก่โครงสร้างอาคารอีกด้วย เมื่อเปิดผิวปูนออกจะพบจุดรั่วซึมให้ตัวและต่อท่อพีวีซีใหม่ เมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อย ให้ทำเหมือนเดิมคือทดลองปล่อยน้ำเข้าเส้นท่อประมาณ 2-3 วันเพื่อให้แน่ใจว่าจุดที่ซ่อมแซมไปจะไม่มีน้ำรั่วซึมออกมาอีก จากนั้นให้ใช้ปูนฉายอุดและฉาบปิดบริเวณผนังที่เปิดออกให้เรียบร้อย ทิ้งให้ปูนแห้งสนิทแล้วจึงซ่อมสีต่อไป
3. การรั่วซึมแบบหาไม่เจอว่ารั่วตรงไหน มักจะรู้อีกทีเมื่อบิลค่าน้ำออกมาและพบว่าค่าน้ำแพงกว่าปกติ 2-3 เท่าตัว ให้เริ่มหาจากในบ้านก่อน โดยสังเกตดูตามผนังหรือฝ้าว่ามีคราบน้ำรั่วตรงไหน โดยใช้ บันไดอลูมิเนียมราคาถูก ถ้าไม่เจออาจเป็นท่อนอกบ้านโดยสังเกต 2 ส่วนคือ ปั้มน้ำไปยังท่อนน้ำในบ้านและจากมิเตอร์มายังแท็งก์น้ำ ซึ่งทั้งสองแบบนี้มักฝังลงใต้ดิน ทดสอบง่ายๆด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกจุดในบ้าน และสังเกตที่มิเตอร์ว่ายังเดินหรือไม่ ถ้ามิเตอร์ยังเดินก็แสดงว่ารั่วในท่อสองส่วนที่กล่าวมา ถึงหรืออีกวิธีการหนึ่งต้องใช้อุปกรณ์การฟังเสียงน้ำรั่ว ท่านสามารถติดต่อไปยังการประปาใกล้บ้านท่านโดยมีมาตรฐานการทำงานดีและสามารถแก้ปัญหาประเภทนี้ให้ท่านได้ ลดการเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมแน่นอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น