ส่วนจุดที่รองรับการพาดของบันไดด้านบนนั้น
ควรวางพาดได้แนบสนิท และควรมีที่ล็อค หรือใช้เชือกมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้าง ไว้กับจุดพาดด้านบน
เพื่อป้องกันการเลื่อนไถลออกจากตำแหน่ง
และถ้าใช้บันไดเพื่อก้าวข้ามไปทำงานอีกจุดหนึ่งที่ด้านบนก็ควรให้ปลายบันได
มีขนาดยาวเกินกว่าจุดรองรับอย่างน้อย 1 เมตร
ประมาณขั้นบันไดที่ 3 นับจากด้านบนสุดลงมา
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะห่างในแต่ละขั้นบันไดจะกว้างประมาณ 1 ฟุต
(30 cm.) หรือประมาณ 10” (25 cm.) –14” (36 cm.) และควรมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างไว้กับจุดพาดให้แน่นหนา
ใช้เชือกมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างกับจุดพาดด้านบนให้แน่นหนา
การก้าวข้ามไปทำงานอีกจุดหนึ่ง
ควรให้ปลายบันไดยาวเกินกว่าจุดรองรับอย่างน้อย 1
เมตรและมัดราวบันไดทั้ง 2 ข้างให้แน่นหนาถ้าบริเวณที่ตั้งบันไดเป็นทางผ่าน
ทางสัญจร ควรกั้นอาณาเขตและติดป้ายบอก “ห้ามชน” หรือ “ห้ามขยับ” หรือใช้คนยืนเฝ้าระวังให้ และถ้าพาดบันไดผ่านที่ด้านหน้าของประตู
หรือหน้าต่าง ก็ต้องปิดล็อคประตู-หน้าต่างให้เรียบร้อยและติดป้ายบอกไว้ด้วยว่า “ห้ามเปิด” แต่ถ้าพาดผ่านหน้าต่างที่เปิดไว้
ก็สามารถใช้สายยึดราวบันไดทั้ง 2 ข้างไว้กับคร่าวกลางของกรอบหน้าต่างก็ได้และถ้าจำเป็นต้องทำงานในอุโมงค์หรือในเนื้อที่จำกัด
ควรมีเนื้อที่เหลือตามแนวขนานกับบันไดอย่างน้อย 1 เมตร ใช้สายยึดราวบันไดทั้ง
2 ข้างไว้กับคร่าวกลางของกรอบหน้าต่าง
มุมและความชันในการตั้งบันได
ไม่ควรตั้งบันไดในที่ที่มีความชันเกิน 16 องศา วัดจากแนวระนาบด้านข้างของบันได และในพื้นที่ที่มีความชันเกิน 6 องศาวัดจากแนวระนาบด้านหลังของบันได (รูปที่ 9) ถ้ามีความจำเป็นต้องตั้งบันไดในที่ที่มีความชัน
ก็ควรมีอุปกรณ์เสริมบริเวณข้างใต้ขาบันไดให้มีความมั่นคงและได้ระดับ
ส่วนมุมในการตั้งหรือวางพาดบันไดนั้น
ควรมีระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังกับความยาวของบันไดนับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วน 1:4 หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังประมาณ 75
องศา ซึ่งการตั้งบันไดในที่ที่มีความชันไม่เกิน
16 องศาวัดจากแนวระนาบด้านข้างของบันได
และมีความชันไม่เกิน 6 องศาวัดจากแนวระนาบด้านหลังของบันได ในการตั้งบันได
ควรมีระยะระหว่างฐานบันไดถึงผนังที่วางพาดบันไดกับความยาวของบันไดนับจากฐานถึงจุดพาดมีอัตราส่วน
1:4 หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนังประมาณ
75 องศา
====================================================================